หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2559

อิทธิพลความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในประเทศไทย

นับแต่ในอดีตกาลจนถึงปัจจุความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์และอำนาจเหนือธรรมชาติมีมาอยู่คู่กับสังคมไทยมายาวนานนับแต่ยุคประวัติศาสตร์กันเลยทีเดียว ที่มาของความเชื่อและตำนานเกี่ยวกับนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้นมีรากเหง้ามาจากหลายแหล่ง โดยจำแนกได้ดังต่อไปนี้

1.ความเชื่อที่มาจากรากเหง้าของวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น อันมีที่มาจากการหาสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจของคนที่สมัยโบราณมักต้องอาศัยที่พึ่งทางจิตใจ จึงเกิดประเพณีต่างๆที่เป็นนำวัตถุสิ่งของ หรือการจัดพิธีกรรมต่างเพื่อให้คนในชุมชนได้มีส่วนร่วมและเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ

2.ความเชื่อที่มีที่มาจากพิธีกรรมทางศาสนา อาทิเช่นพิธีกรรมทางศาสนาในวันสำคัญต่างๆ

3.ความเชื่อความศรัทธาในบุคคลสำคัญในชุมชน หรือท้องถิ่นที่มีคุณูปการหรือมีความสำคัญในด้านต่างๆต่อชุมชน

4.ความเชื่อความศรัทธาต่อบุคคลในศาสนาหรือลัทธิต่าง ที่มีตำนานความเชื่อและประวัติความเป็นมาเป็นที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาต่อคนทั่วไปอาทิเช่น ความศรัทธาในองค์พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นศาสนาองค์เอก ที่ประกาศพระพุทธศาสนาสั่งสอนผู้คนให้เข้าถึงธรรมะและปฏิบัติตนให้พ้นทุกข์หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในสงสาร หรือความเชื่อในองค์เทพต่างๆในศาสนาฮินดู

5.ความเชื่อความศรัทธาที่มาจาก เรื่องราวจากลัทธิความเชื่อ หรือตำนานต่างๆ อาทิเช่นตำนานความเชื่อทางด้านพระเครื่อง วัตถุมงคล และเครื่องรางของขลังที่ปลุกเสกจากเกจิอาจารย์ของไทย ตำนานความเชื่อทางด้านโชคลางหรือวัตถุต่างๆของแต่ละประเทศและแต่ละชุมชน


ดังที่ยกตัวอย่างมาแล้วข้างต้นเป็นตัวอย่างที่มาของอิทธิพลความเชื่อของคนที่มีต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เมื่อดูจากที่มาแล้วสามารถจำแนกล้กษณะของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้ดังนี้

-ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เป็น วัฒนธรรมประเณี หรือพิธีกรรม
-ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เป็น ตัวบุคคล
-สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นวัตถุที่ใช้ยึดเหนี่ยว

ในสังคมไทยนั้นประกอบด้วย 4 ภาค โดยแต่ละภาคล้วนแล้วแต่มีความเชื่อในเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ด้วยกันทั้งสิ้น แต่จะแตกต่างกันไปตามลักษณะของพื้นที่และวัฒนธรรมประเพณีของแต่ละท้องถิ่นไป



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น